วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

6. สมมติฐาน (Hypothesis)


            ไพฑูรย์  สินลารัตน์.  (2534 : 383).  กล่าวว่า  โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้วิจัยตัดสินใจจะทำการวิจัยเรื่องใด  ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น  ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์  การสังเกต  ทฤษฎี  หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก  การทำนั้นการวิจัย  การทำวิจัยก็คือการศึกษาเพื่อดูว่า  สิ่งที่คาดหวังนั้น  จะเป็นจริงหรือไม่จริงตามความคาดหวัง 

             พจน์ สะเพียรชัย. (2516: 56)  กล่าวว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคาตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น ระดับรายได้ของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้  นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนาเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทาเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกาหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง

ธนวัชร ชำนาญสิงห์  http://www.gotoknow.org/posts/413956  กล่าวว่า สมมุติฐาน คือข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Varibles)  หรือแนวคิด (Concepts) วึ่งผู้ที่จะทำการวิจัยต้องการจะทำการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ตัวอย่างของสมมติฐานได้แก่ การให้สวัสดิการทำให้คนมีแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น  หรือการให้สวัสดิการในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งทำให้ประชาชนมีความนิยมในการบริหารของ กกต.มากขึ้น   จะเห็นได้ว่าข้อความทั้งสองเชื่อมโยงระหว่างตัวแปร ๒ ตัว ข้อความแรกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง  ข้อความที่สองเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและความนิยมในการบริหารของ กกต. จะเห็นได้ว่าสมมติฐานทั้ง ๒ ข้อ เป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ การพิสูจน์ทำได้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องยืนยันว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นจะถูกต้องเสมอ ข้อมูลที่เก็บมาได้อาจจะพิสูจน์ได้ว่า สมมติฐานนั้นไม่เป็นจริง
สรุป
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

ที่มา
พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1กรุงเทพฯ
           วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2534).  การวิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพฯ :
              จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวัชร ชำนาญสิงห์.  เค้าโครงการวิจัยhttp://www.gotoknow.org/posts/413956 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น