วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7. กรอบแนวคิดในการวิจัย


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  กล่าวว่า การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว

            รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2549 : 43).  กล่าวว่า   การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร

               http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137   กล่าวว่า   กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

สรุป

กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป



ที่มา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) .  โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137  เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555



6. สมมติฐาน (Hypothesis)


            ไพฑูรย์  สินลารัตน์.  (2534 : 383).  กล่าวว่า  โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้วิจัยตัดสินใจจะทำการวิจัยเรื่องใด  ผู้วิจัยมักจะคาดหวังผลบางอย่างจากการวิจัยไว้ตั้งแต่ต้น  ทั้งนี้โดยอาศัยประสบการณ์  การสังเกต  ทฤษฎี  หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อนเป็นหลัก  การทำนั้นการวิจัย  การทำวิจัยก็คือการศึกษาเพื่อดูว่า  สิ่งที่คาดหวังนั้น  จะเป็นจริงหรือไม่จริงตามความคาดหวัง 

             พจน์ สะเพียรชัย. (2516: 56)  กล่าวว่า การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคาตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น ระดับรายได้ของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้  นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนาเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทาเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มาหรือปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดในพฤติกรรมดังกล่าว หรือในทางกลับกัน ผู้วิจัยอาจกาหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง

ธนวัชร ชำนาญสิงห์  http://www.gotoknow.org/posts/413956  กล่าวว่า สมมุติฐาน คือข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Varibles)  หรือแนวคิด (Concepts) วึ่งผู้ที่จะทำการวิจัยต้องการจะทำการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ ตัวอย่างของสมมติฐานได้แก่ การให้สวัสดิการทำให้คนมีแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น  หรือการให้สวัสดิการในการมาใช้สิทธิเลือกตั้งทำให้ประชาชนมีความนิยมในการบริหารของ กกต.มากขึ้น   จะเห็นได้ว่าข้อความทั้งสองเชื่อมโยงระหว่างตัวแปร ๒ ตัว ข้อความแรกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและแรงจูงใจในการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง  ข้อความที่สองเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการให้สวัสดิการและความนิยมในการบริหารของ กกต. จะเห็นได้ว่าสมมติฐานทั้ง ๒ ข้อ เป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ว่าถูกต้องหรือไม่ การพิสูจน์ทำได้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องยืนยันว่า สมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นจะถูกต้องเสมอ ข้อมูลที่เก็บมาได้อาจจะพิสูจน์ได้ว่า สมมติฐานนั้นไม่เป็นจริง
สรุป
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเอดส์ สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

ที่มา
พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1กรุงเทพฯ
           วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
ไพฑูรย์  สินลารัตน์. (2534).  การวิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพฯ :
              จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวัชร ชำนาญสิงห์.  เค้าโครงการวิจัยhttp://www.gotoknow.org/posts/413956 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555


5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย


5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                    พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2538 : 6) กล่าวว่า
1.             เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎี เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้เหตุผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบ ทำให้เข้าใจและมีความรู้ใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง
2.             เพื่อแก้ไขปัญหา ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักมีปัญหาหรือเหตุขัดข้องขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจราจร เป็นต้น มนุษย์จึงต้องทำการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา
3.             เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่
                  ภัทรา นิคมานนท์ (2542 : 6) กล่าวว่า
1.             เพื่อบรรยาย หรือพรรณนาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยที่เริ่มจากความไม่รู้ ผู้วิจัยจึงมุ่งทีจะค้นหาความรู้หรือรายละเอียดของข้อสงสัยนั้น ๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีข้อเท็จจริงอะไรบ้าง เช่น การศึกษาลักษณะประชากรของกรุงเทพมหานคร การศึกษาบริบทชุมชน ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยทราบข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจุบัน
2.             เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยเพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเกิดผลกระทบอะไรบ้าง เช่น สภาวะโลกร้อน ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นต้น
3.             เพื่อทำนายหรือพยากรณ์ ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยที่ต้องการบรรยายหรืออธิบายสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในอดีตและหรือปัจจุบันมาเป็นแนวทางในการคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลอะไร อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำงานในอนาคต
                  บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2546 : 7) กล่าวว่า
1.             เนื้อหาเชิงบรรยาย การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกประเด็นปัญหาการวิจัยว่าเป็นอย่างไร หรือมีมากน้อยเพียงใด
2.             เนื้อหาของวัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกประเด็นของการเปรียบเทียบ เช่น เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น ๆ
3.             เนื้อหาของวัตถุประสงค์เชิงสัมพันธ์ การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องหลายคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดผลต่อ เป็นต้น
                   สรุป
ในโครงร่างการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้

ที่มา
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). คู่มือการวิจัย การเขียนรายงาน การวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภัทรา นิคมานนท์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์. 

4. คำถามของการวิจัย


คำถามของการวิจัย

               สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์  วิรัชชัย(2550 : 149) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน
               อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553 :  7) กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร
              องอาจ นัยพัฒน์(2551:  43) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า
“ อะไรคือ อะไรเป็น” (What is)
การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ 
2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า
“ ตัวแปร X  มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ
“ ตัวแปร X  พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่
การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสห สัมพันธ์(correlation  design)  
 3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ
   ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจ ระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการ ทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า
มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่
คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง(experimental design) หรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ(causal comparative design) มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ

                  สรุป

                   ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้    คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
               ที่มา
สุวิมล  ว่องวานิช. (2550). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โร
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
สังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
อาทิวรรณ  โชติพฤกษ์. (2553).  ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


จักรกฤษณ์ สำราญใจ   http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm   วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ความสำคัญของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อ
1.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสถาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย  คือจะได้ทราบว่าในหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีข้อสงสัยใคร่หาคำตอบนั้น ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบได้เป็นความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง  การจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปควรจะได้ทราบเสียก่อนว่าเรารู้อะไรกันแล้วบ้างเกี่ยวกับเรื่องนั้น ความรู้เหล่านั้นมีความชัดเจนเพียงใด  ยังมีข้อความรู้ที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้างหรือไม่  ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบบ้าง  การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น จะเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าหรือความสำคัญเพียงใด และจะเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างผสมกลมกลืนได้อย่างไร
2.     ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น  การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่  นักวิจัยไม่นิยมแสงหาความรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาเดิมโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ  สิ่งใดที่รู้แล้วมีผู้หาคำตอบไว้แล้ว นักวิจัยจะไม่ทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นซ้ำอีก  ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัย และทำให้การวิจัยนั้นด้อยคุณค่าลง การทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างถี่ถ้วนและรอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง  ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้ต่อไป
3.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theritical หรือConceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะต้องชัดเจน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน  สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
4.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน  จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไรแล้วเท่านั้น ยังจะได้ทราบด้วยว่านักวิจัยคนอื่น ๆ เหล่านั้นได้มีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการทำวิจัยในเรื่องนั้น  คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด  คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่  เอกสารเชิงทฤษฎีต่าง ๆ ได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร  สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย   นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้  ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น
5.     ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย  เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว  ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ
6.     ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น  การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย(Research proposal)ด้วย  การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน  เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ  ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง
ภัทรา  นิคมานนท์ (2548 : 72)  ให้ความหมายของ การประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่า เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการทำในแง่มุมต่างๆ เพื่อหาประเด็นของเรื่องที่จะทำวิจัยว่า มีความหมายอย่างไร  มีองค์ประกอบใดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้วิจัยจะทำบ้าง  มีทฤษฎีอะไรบ้างที่กล่าวถึงเรื่องของปัญหาการวิจัยนั้น  ปัญหาการวิจัยนั้นผู้วิจัยควรศึกษาในขอบข่ายที่กว้างขวางเพียงไร  และควรศึกษาในแง่มุมใดจึงจะน่าสนใจ  มีใครทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจจะทำอยู่แล้วบ้าง  งานวิจัยนั้นศึกษากับกลุ่มตัวอย่างใด  มีวิธีการศึกษาอย่างไร  ผลการวิจัยเป็นอย่างไร       ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนของการวิจัยที่ผู้วิจัยจะทำต่อไปได้
สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544 : 51)  กล่าวว่า การประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึง  การค้นคว้าศึกษารวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ  เช่น  ผลงานวิจัย  บทความเอกสารทางวิชาการ  และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัยเพื่อประเมินประเด็น  แนวความคิด  ระเบียบวิธีการวิจัย  ข้อสรุป  ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือประเด็นของปัญหาของการวิจัยก่อนที่จะลงมือทำการวิจัยของตนเองและในบางครั้งอาจมีการทบทวนเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ลงมือทำไปบ้างแล้ว

สรุป
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  คือ  ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปสิ่งพิมพ์ (printed materials) หรือ การบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ ตัวอย่างของเอกสารได้แก่  หนังสือ  ตำรา จุลสาร  บทความทางวิชาการ  สารานุกรม  วารสาร  เอกสารสิ่งพิมพ์ของทางราชการ  จดหมายเหตุ      คู่มือ  รายงานประจำปี  บทปริทัศน์ และบทสรุปส่วนตัว   ในส่วนของงานวิจัย ได้แก่ วิทยานิพนธ์  รายงานการวิจัย  บทคัดย่องานวิจัย  และรายงานการสังเคราะห์งานวิจัย

ที่มา
ภัทรา นิคมานนท์. (2548). การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธ์.  (2544).  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื่องฟ้า
พริ้นติ้ง.
จักรกฤษณ์ สำราญใจ. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง. http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7
            %D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/doc.htm.  เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555



2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย


ชิดชนก  เชิงเชาว์.  (2547 : 46).  การวิจัยหมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบโดยอาศัยอุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริงหรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ   ที่มาของปัญหาการวิจัย  การกำหนดปัญหาวิจัย  การทบทวนวรรณกรรม  การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย  การกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย  การออกแบบการวิจัยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  การสร้างเครื่องมือการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล   การอภิปรายผลและเสนอข้อสรุปของการวิจัย
พิสณุ    ฟองศรี(2549:21)  ได้กล่าวไว้ว่าการวิจัย มีแหล่งปัญหาต่างๆไม่น้อยกว่า 15 แหล่ง เช่นจากความสนใจของผู้วิจัย ประสบการณ์ของผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่สงสัยหรือประสบปัญหา การเข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนา การเสนอแนะหรือมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา การอ่านเอกสาร หนังสือ ตำรา วารสารต่างๆ จากรายงานการวิจัย บทคัดย่อ หรือบทความงานวิจัย คอมพิวเตอร์ ทฤษฎีต่างๆ จากข้อโต้แย้ง จากความเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น จากแหล่งทุนต่างๆ และแนวทางการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

 รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540 : 41).  กล่าว่วา   ผู้วิจัยจะต้องกำหนดประเด็นปัญหา  และความสำคัญของปัญหาที่ต้องการศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน  การกำหนดปัญหาที่ต้องศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน  การกำหนดปัญหาไว้อย่างชัดเจนช่วยในการวางแผนงานวิจัยได้อย่างดี   ในการเขียนควรกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย  เพื่อนำไปสู่วัตถุระสงค์ที่ทำการวิจัย  ดังนั้นการเขียนไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยืดยาวจนเกินไป
สรุป
ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา    เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นสมควรต้องมีการศึกษาปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยพยายามกำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหา หรือด้านอื่น ๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถิติ สอบถามความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแสวงหาเหตุผลที่น่าเป็นไปได้ จากทฤษฎีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยย่อหน้าแรก จะต้องอภิปรายถึงความเป็นมา ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย หรือข้อโต้แย้งของการทดลองที่ได้ทำการก่อนหน้า     ย่อหน้าที่สอง จะต้องอภิปรายถึงความสำคัญ ข้อดีของปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เราสนใจจะดำเนินการทำ ควรมีเอกสารหรือที่มาของปัญหาที่ที่อ้างอิงเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งสิ่งที่เราจะทำการทดลองนั้น   ย่อหน้าสุดท้าย ต้องอภิปรายสรุปเป้าหมายของการทดลองที่เราจะทำการทดลองโดยใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อแก้ปัญหาที่งานทดลองที่เราจะทำ



ที่มา

ชิดชนก   เชิงเชาว์.  (2547).  การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา.  ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยี
ทางการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาลัยสงขลานครินทร์.
 พิสณุ    ฟองศรี.  (2549).  วิจัยชั้นเรียน:หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์งาม.
รวีวรรณ   ชินะตระกูล.  (2540) . โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.



1. ชื่อเรื่อง


          พจน์ สะเพียรชัย. (2549 : 23) กล่าวว่า ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทาการศึกษาวิจัย ว่าทาอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตลาดนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม” ในกรณีที่จาเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้าหนักความสาคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร2547”   นอกจากนี้ ควรคานึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
          1 ความสนใจของผู้วิจัยควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          2 ความสาคัญของเรื่องที่จะทาวิจัยควรเลือกเรื่องที่มีความสาคัญ และนาไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านการท่องเที่ยวหรือเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว
          3 เป็นเรื่องที่สามารถทาวิจัยได้เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทาวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่นด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
          4 ไม่ซ้าซ้อนกับงานวิจัยที่ทามาแล้วซึ่งอาจมีความซ้าซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง 
            ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุดสถานที่ที่ทาการวิจัย ระยะเวลาที่ทาการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย
  รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 1  กล่าว่วา  หัวข้อเรื่องที่ดีควรเป็นหัวข้อที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป  เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะดำเนินการได้  การเลือกหัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา
 เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2534:32) กล่าวว่า ต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept)ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม

สรุป 
ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย  นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย

ที่มา

พจน์ สะเพียรชัย. (2549). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา กรุงเทพฯวิทยาลัย
       วิชาการศึกษา ประสานมิตร 
 รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540.  โครงร่างวิจัย.  วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพ ฯ ภาพพิมพ์.
 เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.  (2537).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ  สุวีริยาสาส์น