วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7. กรอบแนวคิดในการวิจัย


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  กล่าวว่า การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว

            รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2549 : 43).  กล่าวว่า   การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร

               http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137   กล่าวว่า   กรอบแนวความคิดการวิจัย หมายถึง การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

สรุป

กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป



ที่มา
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) .  โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/400137  เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น