วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย


ชิดชนก  เชิงเชาว์.  (2547 : 46).  การวิจัยหมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบโดยอาศัยอุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริงหรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ   ที่มาของปัญหาการวิจัย  การกำหนดปัญหาวิจัย  การทบทวนวรรณกรรม  การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย  การกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย  การออกแบบการวิจัยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  การสร้างเครื่องมือการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล   การอภิปรายผลและเสนอข้อสรุปของการวิจัย
พิสณุ    ฟองศรี(2549:21)  ได้กล่าวไว้ว่าการวิจัย มีแหล่งปัญหาต่างๆไม่น้อยกว่า 15 แหล่ง เช่นจากความสนใจของผู้วิจัย ประสบการณ์ของผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่สงสัยหรือประสบปัญหา การเข้าร่วมอบรม ประชุม สัมมนา การเสนอแนะหรือมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา การอ่านเอกสาร หนังสือ ตำรา วารสารต่างๆ จากรายงานการวิจัย บทคัดย่อ หรือบทความงานวิจัย คอมพิวเตอร์ ทฤษฎีต่างๆ จากข้อโต้แย้ง จากความเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น จากแหล่งทุนต่างๆ และแนวทางการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

 รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540 : 41).  กล่าว่วา   ผู้วิจัยจะต้องกำหนดประเด็นปัญหา  และความสำคัญของปัญหาที่ต้องการศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน  การกำหนดปัญหาที่ต้องศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน  การกำหนดปัญหาไว้อย่างชัดเจนช่วยในการวางแผนงานวิจัยได้อย่างดี   ในการเขียนควรกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย  เพื่อนำไปสู่วัตถุระสงค์ที่ทำการวิจัย  ดังนั้นการเขียนไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยืดยาวจนเกินไป
สรุป
ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา    เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นสมควรต้องมีการศึกษาปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยพยายามกำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหา หรือด้านอื่น ๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถิติ สอบถามความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแสวงหาเหตุผลที่น่าเป็นไปได้ จากทฤษฎีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยย่อหน้าแรก จะต้องอภิปรายถึงความเป็นมา ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย หรือข้อโต้แย้งของการทดลองที่ได้ทำการก่อนหน้า     ย่อหน้าที่สอง จะต้องอภิปรายถึงความสำคัญ ข้อดีของปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เราสนใจจะดำเนินการทำ ควรมีเอกสารหรือที่มาของปัญหาที่ที่อ้างอิงเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งสิ่งที่เราจะทำการทดลองนั้น   ย่อหน้าสุดท้าย ต้องอภิปรายสรุปเป้าหมายของการทดลองที่เราจะทำการทดลองโดยใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อแก้ปัญหาที่งานทดลองที่เราจะทำ



ที่มา

ชิดชนก   เชิงเชาว์.  (2547).  การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา.  ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยี
ทางการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาลัยสงขลานครินทร์.
 พิสณุ    ฟองศรี.  (2549).  วิจัยชั้นเรียน:หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์งาม.
รวีวรรณ   ชินะตระกูล.  (2540) . โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น