วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

1. ชื่อเรื่อง


          พจน์ สะเพียรชัย. (2549 : 23) กล่าวว่า ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทาการศึกษาวิจัย ว่าทาอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตลาดนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม” ในกรณีที่จาเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้าหนักความสาคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร2547”   นอกจากนี้ ควรคานึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
          1 ความสนใจของผู้วิจัยควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          2 ความสาคัญของเรื่องที่จะทาวิจัยควรเลือกเรื่องที่มีความสาคัญ และนาไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านการท่องเที่ยวหรือเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว
          3 เป็นเรื่องที่สามารถทาวิจัยได้เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทาวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่นด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
          4 ไม่ซ้าซ้อนกับงานวิจัยที่ทามาแล้วซึ่งอาจมีความซ้าซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง 
            ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุดสถานที่ที่ทาการวิจัย ระยะเวลาที่ทาการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย
  รวีวรรณ  ชินะตระกูล  (2540 : 1  กล่าว่วา  หัวข้อเรื่องที่ดีควรเป็นหัวข้อที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป  เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะดำเนินการได้  การเลือกหัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา
 เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2534:32) กล่าวว่า ต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept)ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม

สรุป 
ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย  นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย

ที่มา

พจน์ สะเพียรชัย. (2549). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา กรุงเทพฯวิทยาลัย
       วิชาการศึกษา ประสานมิตร 
 รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540.  โครงร่างวิจัย.  วิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพ ฯ ภาพพิมพ์.
 เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.  (2537).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ  สุวีริยาสาส์น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น