วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

4. คำถามของการวิจัย


คำถามของการวิจัย

               สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์  วิรัชชัย(2550 : 149) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน
               อาทิวรรณ โชติพฤกษ์(2553 :  7) กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร
              องอาจ นัยพัฒน์(2551:  43) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า
“ อะไรคือ อะไรเป็น” (What is)
การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ 
2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์
ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า
“ ตัวแปร X  มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ
“ ตัวแปร X  พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่
การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสห สัมพันธ์(correlation  design)  
 3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ
   ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจ ระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการ ทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า
มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่
คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลอง(experimental design) หรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ(causal comparative design) มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ

                  สรุป

                   ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้    คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
               ที่มา
สุวิมล  ว่องวานิช. (2550). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โร
พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
สังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
อาทิวรรณ  โชติพฤกษ์. (2553).  ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น