วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

9. คำสำคัญ


 Mr. Rapassak Ekapong Hetthong (http://www.wijai48.com/proposal/) กล่าวว่า  ศัพท์ดรรชนีหรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของงานวิจัย ช่วยในการสืบค้นเข้าถึงงานวิจัยเรื่องนั้น วิธีการคือ ดึงคำหรือแนวคิดที่ปรากฏในชื่อเรื่อง หรือการตั้งชื่อเรื่องควรประกอบด้วยคำสำคัญครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ควรหลีกเลี่ยงคำศัพท์สามัญที่มีคุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่น วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ระบบความแตกต่าง
                ภิรมย์ กมลรัตนกุล  (2531 : 32)   กล่าวว่า   ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
วิลาวัลย์  โต๊ะเอี่ยม  (http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html)   กล่าวว่า       คำสำคัญ หมายถึง คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้ จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็นที่ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)


                สรุป
                ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
คำที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้แทนเนื้อหาของบทความวารสาร ซึ่งต้องเป็นคำที่สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งการค้นหาด้วยคำสำคัญ หรือ Keyword นี้ จะเป็นการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง (ทั้งนี้ยกเว้นคำบางคำ เช่น เป็นที่ซึ่ง,อัน,and, from, the, this, what ฯลฯ)

ที่มา
ภิรมย์ กมลรัตนกุล .  (2531).   หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์
วิลาวัลย์  โต๊ะเอี่ยม.  (http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_journal_keyword.html).   เข้าถึงเมื่อวันที่  3 มกราคม 2556   
Mr. Rapassak Ekapong Hetthong.  http://www.wijai48.com/proposal/.  เข้าถึงเมื่อ วันที่  3 
          มกราคม พ..2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น