วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

13. การรวบรวมข้อมูล


          ประคอง  กรรณสูต (2529:12) การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการและเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูล เพื่อการนำเสนอหรือนำไปดำเนินการตามหลักสถิติ ถ้าการออกแบบวิจัยที่ดีก็จะมีการกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูลดีด้วย ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปของตัวเลข เป็นต้น

          นิรันดร์  จุลทรัพย์ (2552:156) การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การเก็บข้อมูล (Data Collection) และการรวบรวมข้อมูล

         พิชิต  ฤทธิ์จรูญ (2544:383) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการอธิบายถึงวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ว่าจะดำเนินการอย่างไร ในช่วงเวลาใด เช่น ส่งทางไปรษณีย์หรือนำไปให้กลุ่มตัวอย่างเอง โดยวิธีการสอบถาม ทดสอบ สัมภาษณ์ หรือสังเกต ในกรณีที่จะเป็นการวิจัยในเชิงทดลองจะต้องกล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการทดลอง พร้อมระบุการเก็บรวบรวมข้อมูลใหสอดคล้องตลอดการทดลอง
 สรุป
การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในงานวิจัย ผู้วิจัยควรศึกษาทำความเข้าใจทั้งลักษณะและประเภทข้อมูลตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงานของตน โดยทั่วไปวิธีการรวบรวมและประเภทข้อมูลที่รวบรวมขึ้นกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ การเก็บข้อมูลจะมีวิธีการและแหล่งที่มาแตกต่างกันไปและหากพิจารณาถึงประเภทข้อมูลสามารถสรุปข้อมูลได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้อมูลทุติยภูมิ และกลุ่มข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งวิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งสองประเภทก็จะมีความแตกต่างกันไป

ที่มา

ประคอง  กรรณสูต.  (2529).  สถิติเพื่ออการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์.ปทุมธานี:ศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า 
รองศาสตราจารย์นิรันดร์  จุลทรัพย์.  (2552). การวิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.บริษัทนำศิลป์โฆษณา
พิชิต  ฤทธิ์จรูญ.  (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือ
                    ราชภัฏพระนคร 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น