วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

17. ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย


พจน์ สะเพียรชัย (2516: 33) กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ

                บุญชม ศรีสะอาด (2546 : 169) กล่าวว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นส่วนที่ระบุถึงว่าผลการวิจัยเรื่องนี้จะให้ประโยชน์แก่ใครอย่างไร

                รวีวรรณ ชินะตระกลู (2540 : 79) กล่าวว่า การทำวิจัยแต่ละเรื่องจะต้องทราบว่าเมื่อทำการเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนั้นอาจใช้ได้ในหลายลักษณะ เช่น บางหน่วยงานอาจนำไปใช้ในการจักทำนโยบาย หรือผู้วิจัยอาจนำไปใช้การปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือทำข้อเสนอแนะ

สรุป
 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร หลักในการเขียนมีดังนี้
1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้

ที่มา
พจน์ สะเพียรชัย. (2516).   หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
                วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร.
บุญชม ศรีสะอาด.  (2546).   การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
รวีวรรณ ชินะตระกลู. (2540). วิจัยทางการศึกษา.กรุงเทพ: ภาพพิมพ์.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น